แนวทางการเบิร์นอินลำโพง
เข้าช่วงซัมเมอร์ ขออนุญาตพักร้อน พักเรื่องการลองของ ลองเครื่อง หันมาหยิบเรื่องราวของการเบิร์นลำโพงมาเล่าขาน จากประสบการณ์ทั้งตัวเกล้ากระผมเอง และที่เคยได้สนทนาปราศรัยกับเพื่อนฝูงคอเครื่องเสียงด้วยกัน เพื่ออย่างน้อยได้เป็นแนวทางให้กับเพื่อนร่วมชะตาเดียวกัน ได้แบ่งปันความรู้กันไป
มีคำกล่าวว่า “การเล่นเครื่องเสียงไม่ใช่ลูกแก้วสารพัดนึก ที่จะนึดจะเสกให้ได้ตามที่ต้องการเสมอไป มีเงินก็ไม่แน่ว่าจะซื้อความสุขได้” นี่อาจจะเป้นสัจธรรมในการเล่นเครื่องเสียงเลยทีเดียว นักเล่นประเภท วัยรุ่นใจร้อน ใจเร็ว ด่วนได้ คงไม่มีทางถึงฝั่งฝัน ปัญหาสารพัน โดยเฉพาะนักเล่นมือใหม่ มักวนเวียนอยู่ว่า ทำไมลำโพงยี่ห้อเดียวกัน ชุดเดียวกัน เวลานั่งฟังที่ร้านกับที่บ้าน (หลังจากซื้อมาแล้ว) จึงได้ต่างกันราวฟ้าดิน เสียง เบสบวม เบลอ ฟุ้งมาก (ลำโพงบางรุ่นอาจไม่มีเบสให้ได้ยินเลยก็เป็นไปได้) เสียงกลางสดคม เสียงแหลมจัดเกินไป จนแทบจะยกกลับไปขอเงินคืนเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป
จริงอยู่ การที่จะได้มาซึ่งระบบเสียงที่ดี มีปัจจัยหลายประการ ทั้งเรื่องของคุณภาพเครื่อง คุณภาพแผ่น คุณภาพสายสัญญาณ สายลำโพง ตำแหน่งการจัดวาง สภาอคูสติกของห้องฟัง การแม็ทชิ่งซิสเต็มส์ การเบิร์นอินอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง ท้ายสุด ความพึงพอใจของผู้ฟัง และคงสาธยายได้ไม่หมดในคราเดียวกันนี้ จึงขอโฟกัสไปเรื่องการเบิร์นอินของอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในซิสเต็มส์ ได้แก่ ลำโพงก่อนเป็นเรื่องแรก การที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของการเบิร์นอินลำโพง ย่อมต้องเข้าใจลักษณะทางกายภาพของลำโพงเสียก่อน
มีคำกล่าวว่า “การเล่นเครื่องเสียงไม่ใช่ลูกแก้วสารพัดนึก ที่จะนึดจะเสกให้ได้ตามที่ต้องการเสมอไป มีเงินก็ไม่แน่ว่าจะซื้อความสุขได้” นี่อาจจะเป้นสัจธรรมในการเล่นเครื่องเสียงเลยทีเดียว นักเล่นประเภท วัยรุ่นใจร้อน ใจเร็ว ด่วนได้ คงไม่มีทางถึงฝั่งฝัน ปัญหาสารพัน โดยเฉพาะนักเล่นมือใหม่ มักวนเวียนอยู่ว่า ทำไมลำโพงยี่ห้อเดียวกัน ชุดเดียวกัน เวลานั่งฟังที่ร้านกับที่บ้าน (หลังจากซื้อมาแล้ว) จึงได้ต่างกันราวฟ้าดิน เสียง เบสบวม เบลอ ฟุ้งมาก (ลำโพงบางรุ่นอาจไม่มีเบสให้ได้ยินเลยก็เป็นไปได้) เสียงกลางสดคม เสียงแหลมจัดเกินไป จนแทบจะยกกลับไปขอเงินคืนเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป
จริงอยู่ การที่จะได้มาซึ่งระบบเสียงที่ดี มีปัจจัยหลายประการ ทั้งเรื่องของคุณภาพเครื่อง คุณภาพแผ่น คุณภาพสายสัญญาณ สายลำโพง ตำแหน่งการจัดวาง สภาอคูสติกของห้องฟัง การแม็ทชิ่งซิสเต็มส์ การเบิร์นอินอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง ท้ายสุด ความพึงพอใจของผู้ฟัง และคงสาธยายได้ไม่หมดในคราเดียวกันนี้ จึงขอโฟกัสไปเรื่องการเบิร์นอินของอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในซิสเต็มส์ ได้แก่ ลำโพงก่อนเป็นเรื่องแรก การที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของการเบิร์นอินลำโพง ย่อมต้องเข้าใจลักษณะทางกายภาพของลำโพงเสียก่อน
ประเภทและโครงลำโพง
ลำโพงแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. ลำโพงไดนามิค
2. ลำโพงอิเล็กโทรสเตติก หรือลำโพง ESL
3. ลำโพงริบบ้อนทวีตเตอร์
ลำโพงแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. ลำโพงไดนามิค
2. ลำโพงอิเล็กโทรสเตติก หรือลำโพง ESL
3. ลำโพงริบบ้อนทวีตเตอร์
ลำโพงไดนามิค ไม่ว่าแบบ 2 ทาง 3 ทาง พบได้ทั่วไปและจัดเป็นรูปแบบของลำโพงที่มีการผลิตและนิยมเล่นกันมากที่สุดใน หมู่นักเล่น ส่วนลำโพง ESL และลำโพงแผ่นฟิล์ม นิยมเล่นน้อยกว่า เพราะมีสนนค่าตัวสูงจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีการคัดประกอบขึ้นเป็นพิเศษ มีวงจรออกแบบเฉพาะกิจ และผลิตออกมาในปริมาณไม่มาก ราคาจึงสูง เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มไฮเอ็นด์
หลักการทำงานของลำโพง ESL อาศัยแรงสั่นจากแรงสนามไฟฟ้าเป็นต้นกำเนิดเสียง ส่วนประกอบหลักของลำโพงชนิดนี้ เป็นไดอะเฟรมที่ทำจากพลาสติกหรือเป็นแผ่น Plate โลหะเจาะพรุน ลักษณะเป็นตะแกรงอาศัยแรงดันไฟฟ้าส่งผ่านไดอะแฟรมเพื่อสร้างสนามไฟฟ้าขึ้น และสร้างเสียงออกมา ตัวอย่างของลำโพง ESL ที่มีชื่อเสียง ไดแก่ Quad ESL Series, Martin Logan
ขณะที่ลำโพงริบบ้อนทวีตเตอร์ อาศัยการเคลื่อนไหวจากแรงสนามแม่เหล็ก โดยใช้ไดอะแฟรมที่เกิดทำจากวัสดุบางๆ ลักษณะเป็นลูกคลื่น และนำไปแขวนไว้ในสนามแม่เหล็ก เพื่อให้ไดอะแฟรมสั่นและก่อกำเนิดเสียง ตัวอย่างลำโพงริบบ้อนที่คุ้นเคยกัน คือ Magnepan, Aurum Cantus
ไม่ว่าจะเป็นลำโพงประเภทใด ก็ต้องการการเบิร์นอินในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ลำโพงไดนามิคมักจะใช้เวลาเบิร์นอินนานกว่าประเภทอื่น เนื่องมาจากโครงสร้างในหลายส่วนของลำโพงในเกือยทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรวยลำโพง วอยซ์คอยล์ ขอบกรวย ต้องการการขยับตัว ยืดเส้นยืดสายเพื่อให้อยู่ตัวจึงจะทำงานได้ดี
หลักการทำงานของลำโพง ESL อาศัยแรงสั่นจากแรงสนามไฟฟ้าเป็นต้นกำเนิดเสียง ส่วนประกอบหลักของลำโพงชนิดนี้ เป็นไดอะเฟรมที่ทำจากพลาสติกหรือเป็นแผ่น Plate โลหะเจาะพรุน ลักษณะเป็นตะแกรงอาศัยแรงดันไฟฟ้าส่งผ่านไดอะแฟรมเพื่อสร้างสนามไฟฟ้าขึ้น และสร้างเสียงออกมา ตัวอย่างของลำโพง ESL ที่มีชื่อเสียง ไดแก่ Quad ESL Series, Martin Logan
ขณะที่ลำโพงริบบ้อนทวีตเตอร์ อาศัยการเคลื่อนไหวจากแรงสนามแม่เหล็ก โดยใช้ไดอะแฟรมที่เกิดทำจากวัสดุบางๆ ลักษณะเป็นลูกคลื่น และนำไปแขวนไว้ในสนามแม่เหล็ก เพื่อให้ไดอะแฟรมสั่นและก่อกำเนิดเสียง ตัวอย่างลำโพงริบบ้อนที่คุ้นเคยกัน คือ Magnepan, Aurum Cantus
ไม่ว่าจะเป็นลำโพงประเภทใด ก็ต้องการการเบิร์นอินในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ลำโพงไดนามิคมักจะใช้เวลาเบิร์นอินนานกว่าประเภทอื่น เนื่องมาจากโครงสร้างในหลายส่วนของลำโพงในเกือยทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรวยลำโพง วอยซ์คอยล์ ขอบกรวย ต้องการการขยับตัว ยืดเส้นยืดสายเพื่อให้อยู่ตัวจึงจะทำงานได้ดี
โครงสร้างของลำโพงไดนามิค
ประกอบด้วย
1. ตะแกรงหน้ากากลำโพง
2. กรวยลำโพงหรือไดอะแฟรม (Diaphargm) ทำหน้าที่สั่นตามสัญญาณเสียง ทำให้เกิดเสียงขึ้น ไดอะแฟรมมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ แบบโดมอ่อนและโดมโลหะอย่างที่นิยมใช้กัน คืออลูมินั่มอัลลอยด์ การแบ่งย่านความถี่ต่างๆ ทวีตเตอร์, มิดเร้นจ์และวูฟเฟอร์อาศัยวงจรอิเล็คทรอนิกส์ เรียกว่า ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค
3. วอยส์คอยล์ (Voice Coil) เป็นขดลวดรับสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ไปผลักดันกับสนามแม่เหล็กถาวร ทำให้เกิดการสั่นของวอยซ์คอยล์ ไปทำให้กรวยลำโพงหรือ ไดอะแฟรมสั่น
4. แม่เหล็กถาวร (Magnet) ช่วยผลักดันกับแม่เหล็กไฟฟ้าจากวอยซ์คอยล์ ทำให้เกิดเป็นสัญญาณเสียงขึ้น
5. ส่วนยึดแขวนวอยซ์คอยล์ (Spider) ช่วยยึดวอยซ์คอยล์ให้สามารถลอยตัวอยู่ในร่องของสนามแม่เหล็กถาวรได้ โดยไม่เบียดหรือเสียดสีกับขอบของแม่เหล็กถาร
6. ขอบกรวย (Foam) ช่วยทำให้การสั่นตัวของลำโพงสะดวกขึ้น คุณภาพของกรวยตอบสนองความถี่เสียงของลำโพง
7. โครงหุ้มลำโพง (Cast Frame) เป็นเครื่องยึดส่วนประกอบต่างๆ ของลำโพงให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และไว้เป็นส่วนยึดลำโพงเข้ากับตู้ลำโพง
ประกอบด้วย
1. ตะแกรงหน้ากากลำโพง
2. กรวยลำโพงหรือไดอะแฟรม (Diaphargm) ทำหน้าที่สั่นตามสัญญาณเสียง ทำให้เกิดเสียงขึ้น ไดอะแฟรมมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ แบบโดมอ่อนและโดมโลหะอย่างที่นิยมใช้กัน คืออลูมินั่มอัลลอยด์ การแบ่งย่านความถี่ต่างๆ ทวีตเตอร์, มิดเร้นจ์และวูฟเฟอร์อาศัยวงจรอิเล็คทรอนิกส์ เรียกว่า ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค
3. วอยส์คอยล์ (Voice Coil) เป็นขดลวดรับสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ไปผลักดันกับสนามแม่เหล็กถาวร ทำให้เกิดการสั่นของวอยซ์คอยล์ ไปทำให้กรวยลำโพงหรือ ไดอะแฟรมสั่น
4. แม่เหล็กถาวร (Magnet) ช่วยผลักดันกับแม่เหล็กไฟฟ้าจากวอยซ์คอยล์ ทำให้เกิดเป็นสัญญาณเสียงขึ้น
5. ส่วนยึดแขวนวอยซ์คอยล์ (Spider) ช่วยยึดวอยซ์คอยล์ให้สามารถลอยตัวอยู่ในร่องของสนามแม่เหล็กถาวรได้ โดยไม่เบียดหรือเสียดสีกับขอบของแม่เหล็กถาร
6. ขอบกรวย (Foam) ช่วยทำให้การสั่นตัวของลำโพงสะดวกขึ้น คุณภาพของกรวยตอบสนองความถี่เสียงของลำโพง
7. โครงหุ้มลำโพง (Cast Frame) เป็นเครื่องยึดส่วนประกอบต่างๆ ของลำโพงให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และไว้เป็นส่วนยึดลำโพงเข้ากับตู้ลำโพง
หลักการเบิร์นอิน
การเบิร์นอิน ฝรั่งมักจะเรียกว่า การเบรคอิน (Break-in) ลำโพง จะว่าไปไม่มีอะไรยาก เพียงแค่หาแผ่นซีดีเพลงที่ได้มาตรฐาน เปิดฟังกันไปเรื่อยๆ ในระดับเสียงที่มีความสู
กว่าปกติสักหน่อย เปิดซ้ำไปมา แล้วนับจำนวนจำนวนชั่วโมงการใช้งานเริ่มต้นจาก 50-100 ชั่วโมง เพื่อให้เครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ทำความคุ้นเคยและสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วยความใหม่ของวัสดุทำให้ลำโพงยังให้ เสียงได้ไม่ดีตามต้องการในระยะเริ่มต้น การเบิร์นนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของลำโพงและแบรนด์ที่ต่างกันนานกว่า 200 ชั่วโมงก็มีให้เห็นอยู่ถมถืด เพราะฉะนั้นในช่วงเบิร์นอินจงอย่าไปใส่ใจหรือคาดหวังกับสุ้มเสียงมากนัก เพราะนอกจากมิติและโฟกัสจะเบลอ ฟุ้งแล้ว เสียงมิดเบสของลำโพงจะดูทึบตื้อ หาสาระอะไรมากไม่ได้ เนื่องมาจากการขยับของกรวยวอยซ์คอยล์นั้นยังขาดความคล่องตัวนั่นเอง
จำนวน ชั่วโมงของการเบิร์นอินไม่ควรต่ำกว่า 80-100 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นลำโพงประเภทไหน แบรนด์อะไร หลังจากนั้นค่อยถึงเวลาที่เราจะมานั่งวิเคราะห์ลำโพงอย่างจริงจัง ให้สังเกตถึงความเป็รอิสระของชิ้นดนตรี ความมีตัวตน การระบุตำแหน่งชิ้นดนตรีที่ทำได้ไม่ยาก เสียงกีต้า ไวโอลิน เปียโน มีความชัดใส สะอาด ไร้สากเสี้ยน
ในกรณีของนักทดสอบ ซึ่งมักมีเวลาค่อนข้างจำกัดกว่านักเล่นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะเครื่องหรือลำโพงมีคิวจองทดสอบยาวเหยียด หรือยืมของนานเกรงใจดีลเลอร์ก็ตาม จึงต้องเร่งเบิร์นต่อเนื่องกันอย่างหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้มีเวลาเหลือมากพอกับการฟังให้มากที่สุด การใช้เวลาอยู่กับลำโพงแต่ละรุ่นเป็นช่วงไม่นานนัก เฉลี่ย 1-2 สัปดาห์ หนำซ้ำต้องทดสอบค้นหา ความจริง ดีงเอาจุดแข็ง-จุดอ่อนนั้นมาบอกเล่าเก้าสิบให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้กับผู้อ่านการเบิร์นอิน ฝรั่งมักจะเรียกว่า การเบรคอิน (Break-in) ลำโพง จะว่าไปไม่มีอะไรยาก เพียงแค่หาแผ่นซีดีเพลงที่ได้มาตรฐาน เปิดฟังกันไปเรื่อยๆ ในระดับเสียงที่มีความสู
กว่าปกติสักหน่อย เปิดซ้ำไปมา แล้วนับจำนวนจำนวนชั่วโมงการใช้งานเริ่มต้นจาก 50-100 ชั่วโมง เพื่อให้เครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ทำความคุ้นเคยและสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วยความใหม่ของวัสดุทำให้ลำโพงยังให้ เสียงได้ไม่ดีตามต้องการในระยะเริ่มต้น การเบิร์นนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของลำโพงและแบรนด์ที่ต่างกันนานกว่า 200 ชั่วโมงก็มีให้เห็นอยู่ถมถืด เพราะฉะนั้นในช่วงเบิร์นอินจงอย่าไปใส่ใจหรือคาดหวังกับสุ้มเสียงมากนัก เพราะนอกจากมิติและโฟกัสจะเบลอ ฟุ้งแล้ว เสียงมิดเบสของลำโพงจะดูทึบตื้อ หาสาระอะไรมากไม่ได้ เนื่องมาจากการขยับของกรวยวอยซ์คอยล์นั้นยังขาดความคล่องตัวนั่นเอง
จำนวน ชั่วโมงของการเบิร์นอินไม่ควรต่ำกว่า 80-100 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นลำโพงประเภทไหน แบรนด์อะไร หลังจากนั้นค่อยถึงเวลาที่เราจะมานั่งวิเคราะห์ลำโพงอย่างจริงจัง ให้สังเกตถึงความเป็รอิสระของชิ้นดนตรี ความมีตัวตน การระบุตำแหน่งชิ้นดนตรีที่ทำได้ไม่ยาก เสียงกีต้า ไวโอลิน เปียโน มีความชัดใส สะอาด ไร้สากเสี้ยน
ผมจึงนิยมใช้แผ่น CD ทดสอบที่ผลิตมาโดยเฉพาะ เช่น แผ่นเบิร์นอินของ Purist Audio Design (PAD) System Enhancer CD (เป็นแผ่นที่ถูหยิบยืมไปเป็นประจำ) ด้วยการที่มันเป็นแผ่นที่ให้ความเป็นดนตรีสูง ช่วยย่นระยะเวลาไปได้ เพราะเพียงรันแผ่น สี่ครั้ง เทียบเท่าการเบิร์นอินถึง 100 ชั่วโมง (ตามคู่มือเขาว่าอย่างนั้น) ซึ่งได้ลองแล้วเป็นจริงเช่นที่ว่า หรือจะเป็นแผ่นของ Ayre ที่มีการบันทึกสัญญาณเสียงในแทร็คต่างๆ แตกต่างกัน, แผ่น Unplug 1,2,3 สังกัด TIS (Treasure Island Sound) ของฮ่องกง หรือแผ่นทดสอบและเบิร์นอินของ XLO เป็นต้น หลายครั้งหากเพื่อนหยิบยืมไปหรือหากคุณไม่มีแผ่นประเภทนี้ ก็ไม่ต้องกังวลแต่ประการใด ใช้สัญญาณคลื่นวิทยุจากสเตอริโอจูนเนอร์ เปิดทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็ได้ อาศัยความถี่คลื่นวิทยุที่หลากหลาย ครบเครื่อง ก็ให้ผลออกมาดีไม่แพ้ แผ่น CD ทดสอบ
ขอบอกว่าไม่ต้องกลัวการเปิดเครื่องเล่นต่างๆ ต่อเนื่อง 2-3 วัน จะทำให้เครื่องเสียหาย เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกศ์ที่ออกแบบมาดีมีคุณภาพสามารถเปิดต่อเนื่องได้ อย่างทนทานนานนับปี ไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด เบิร์นนานเท่าไรจึงจะพ้นและพอ (ใจ)
อันนี้เป็นปัญหาโลกแตก พูดง่ายๆ คือ บอกยากครับว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน หลายปัจจัยที่ทำมห้ระยะเวลาการเบิร์นอินอาจนานกว่าที่คิดไว้ เพราะความสามารถและข้อจำกัดของลำโพงแต่ละรุ่น ที่มีจุดอิ่มตัวหรือสภาพถึงพร้อมไม่เหมือนกัน บางรุ่นอาจต้องเบิร์นนานกันเป็น 100-200ชั่วโมง หรืออาจจะแค่ 40-50 ชั่วโมงเท่านั้น
ขอขอบคุณ นิตยสารGM2000 Vol.9 No.109 April2006 คอลัมน์Test talk หน้า 58-64
ขอบอกว่าไม่ต้องกลัวการเปิดเครื่องเล่นต่างๆ ต่อเนื่อง 2-3 วัน จะทำให้เครื่องเสียหาย เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกศ์ที่ออกแบบมาดีมีคุณภาพสามารถเปิดต่อเนื่องได้ อย่างทนทานนานนับปี ไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด เบิร์นนานเท่าไรจึงจะพ้นและพอ (ใจ)
อันนี้เป็นปัญหาโลกแตก พูดง่ายๆ คือ บอกยากครับว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน หลายปัจจัยที่ทำมห้ระยะเวลาการเบิร์นอินอาจนานกว่าที่คิดไว้ เพราะความสามารถและข้อจำกัดของลำโพงแต่ละรุ่น ที่มีจุดอิ่มตัวหรือสภาพถึงพร้อมไม่เหมือนกัน บางรุ่นอาจต้องเบิร์นนานกันเป็น 100-200ชั่วโมง หรืออาจจะแค่ 40-50 ชั่วโมงเท่านั้น
แบบสอบถาม 4 ประการ ในการบ่งชี้ว่าลำโพงของท่านพ้นระยะเบิร์นอินแล้วหรือไม่ ได้แก่
1. ค่าไดนามิกของลำโพง (Dynamic Range) ไดนามิกซ์เร้นจ์ที่กว้างขวาง ไดนามิกคอนทราสต์ที่สวิงตัวขึ้นลงอย่างมีน้ำหนัก เสียงที่แยกออกมาระหว่างเบาที่สุด ถึงดังที่สุด ทำได้อย่างน่าฟังและน่าประทับใจหรือไม่ สำเนียงเสียงเสนาะเข้าถึงซึ่งความประณีต ที่ศิลปินพยายามจะแสดงออกระหว่างตัวโน้ตแล้วหรือยัง
2. การตอบสนองความถี่ (Frequency Response) ต้องไม่ออกอาการห้วน หรือมีอาการคลุมเครือดุลเสียงกลมกลืนทั้งสามย่าน-สูง กลาง ต่ำ เสียงเหมือนอยู่ในกล่อง ทึบอู้หรือไม่ เสียงดนตรีชัดเจนสม่ำเสมอ เสียงร้องที่นิ่งสนิท หรือฮาร์โมนิคของชิ้นดนตรีทุกชิ้นแล้วหรือไม่
3. ความกังวาลของเสียง (Image & Soundstage) สังเกตได้จากเสียงเปียโน ให้ความกังวาลตามระดับของเสียงความสมจริง ไม่มากไม่น้อยเกินไป เสียงมีความเป็นอิสระ เปิดโปร่งหรือไม่
4. โทนัล บาลานซ์ (Tanal Balance) มีความต่อเนื่องไหลลื่น ไร้ตะเข็บเสียง ให้รายละเอียดของเสียงกลางแหลมที่ราบเรียบเสมอสมาน เนื้อเสียงประณีตละเอียดแล้วหรือยัง
หากคำตอบของคุณจากแบบสอบถามข้างต้น คือ “ใช่” ทั้งหมด ขอแสดงความยินดีว่าลำโพงของท่านพ้นระยะเบิร์นอินแล้ว และแน่นอน ลำโพงที่พ้นการเบิร์นอิน บุคลิกและสไตล์เสียงจะอยู่ตัวไปอย่างนั้นและจะไม่เปลี่ยนไปอีก ไม่ว่าจะเปิดเพลงเล่นแผ่นไปอีกสักเท่าไรก็ตาม...พระเดชพระคุณทั้งหลาย
1. ค่าไดนามิกของลำโพง (Dynamic Range) ไดนามิกซ์เร้นจ์ที่กว้างขวาง ไดนามิกคอนทราสต์ที่สวิงตัวขึ้นลงอย่างมีน้ำหนัก เสียงที่แยกออกมาระหว่างเบาที่สุด ถึงดังที่สุด ทำได้อย่างน่าฟังและน่าประทับใจหรือไม่ สำเนียงเสียงเสนาะเข้าถึงซึ่งความประณีต ที่ศิลปินพยายามจะแสดงออกระหว่างตัวโน้ตแล้วหรือยัง
2. การตอบสนองความถี่ (Frequency Response) ต้องไม่ออกอาการห้วน หรือมีอาการคลุมเครือดุลเสียงกลมกลืนทั้งสามย่าน-สูง กลาง ต่ำ เสียงเหมือนอยู่ในกล่อง ทึบอู้หรือไม่ เสียงดนตรีชัดเจนสม่ำเสมอ เสียงร้องที่นิ่งสนิท หรือฮาร์โมนิคของชิ้นดนตรีทุกชิ้นแล้วหรือไม่
3. ความกังวาลของเสียง (Image & Soundstage) สังเกตได้จากเสียงเปียโน ให้ความกังวาลตามระดับของเสียงความสมจริง ไม่มากไม่น้อยเกินไป เสียงมีความเป็นอิสระ เปิดโปร่งหรือไม่
4. โทนัล บาลานซ์ (Tanal Balance) มีความต่อเนื่องไหลลื่น ไร้ตะเข็บเสียง ให้รายละเอียดของเสียงกลางแหลมที่ราบเรียบเสมอสมาน เนื้อเสียงประณีตละเอียดแล้วหรือยัง
หากคำตอบของคุณจากแบบสอบถามข้างต้น คือ “ใช่” ทั้งหมด ขอแสดงความยินดีว่าลำโพงของท่านพ้นระยะเบิร์นอินแล้ว และแน่นอน ลำโพงที่พ้นการเบิร์นอิน บุคลิกและสไตล์เสียงจะอยู่ตัวไปอย่างนั้นและจะไม่เปลี่ยนไปอีก ไม่ว่าจะเปิดเพลงเล่นแผ่นไปอีกสักเท่าไรก็ตาม...พระเดชพระคุณทั้งหลาย
ขอขอบคุณ นิตยสารGM2000 Vol.9 No.109 April2006 คอลัมน์Test talk หน้า 58-64
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น