Thrust SSC รถยนต์ที่ได้รับการออกแบบในการบันทึกสถิติความเร็วเหนือเสียง ซึ่งถือว่าเป็นรถที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา เรา thaispeedcar.com มาติดตามกันว่า รถยนต์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกนั้นมีที่มา และวิ่งได้เร็วเพียงใด
ในปี 1990 การบันทึกความเร็วสถิติโลก ก็ตื่นเต้นขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากชาวอเมริกัน กำลังวางแผนการแข่งขันใหญ่ และในอังกฤษ ทีม McLaren F1 ยังได้วางแผนที่จะแข่งขันด้วยรถ Super Sonic ซึ่งมีงบประมาณสูงถึง 25 ล้านเหรียญ
Thrust SSC เริ่มต้นโครงการโดย Richard Noble และ Glynne Bowsher สองในผู้ที่สร้างตำนานความสำเร็จให้กับโครงการรถยนต์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก หรือที่เรียกกันว่า Thrust 2 และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง JCB DIESELMAX รถเครื่องยนต์ดีเซล ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก
ความสำเร็จของ Thrust 2 คือการได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ตุลาคม ในปี 1993 ด้วยสถิติความเร็ว 650.88 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือที่ความเร็ว 1047.48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมี Richard Noble เป็นผู้ขับขี่
การกลับมาครั้งใหม่กับโครงการ Thrust SSC (Super Sonic Car) พร้อมกับเงินสปอนเซอร์ 40,000 เหรียญจาก Castrol ซึ่งทุ่มเวลากว่า 2 ปีเต็มในการค้นคว้า รวมไปถึงการการสร้างรถแบบ Fluid Dynamics หรือรถรูปทรงจรวด ซึ่งการทดสอบดังกล่าวนำทีมโดย Ron Ayers ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศพลศาสตร์ของจรวด missile และ Glynne Bowsher ผู้ที่ออกแบบระบบเครื่องยนต์ และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุดในการทำเครื่องยนต์ Jet ซึ่ง ผลของการทดสอบในครั้งแรกถือว่าพบกับความล้มเหลว เพราะสถานการณ์ด้านการเงินได้สร้างความตึงเครียดให้กับการคิดค้น บริษัทสปอนเซอร์ใหญ่ๆหลายบริษัท กังวนกับความเสี่ยงที่ว่า บริษัทประกันภัยทุกแห่ง ต้องการคุ้มครอง Thrust SSC เพียงอัตราการประกันภัยเท่ากับรถยนต์ทั่วไป ทำให้บริษัทสปอนเซอร์ไม่เข้าใจว่าผลกำไรจะได้มาจากการทำรถนี้ได้อย่างไร
แม้สภาพการเงินที่ฝืดเคือง แต่ Richad ก็ ไม่ยอมผ่ายแพ้ โดยการทุ่มเทงบประมาณของตนเองทั้งหมด รวมถึงการกู้เงินวิจัยจากสถาบันการเงิน และยกเลิกบทบาทของตนเองในการเป็นผู้ขับขี่รถนี้ จึงทำให้มีการแข่งขันเฟ้นหา ผู้ขับขี่ Thrust SSC จากผู้สมัคร 32 คน โดยใช้เวลา 6 เดือน จึงได้ผู้ชนะคือ Anddy Green นักบินที่เชี่ยวชาญด้านการขับเครื่องบิน Jet ความเร็วสูงกว่า 1,000 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ด้านนักบินติดตามพายุเทอร์นาโดมาก่อนโดย Richard ทำทุกอย่างเพื่อให้โครงการนี้สำเร็จให้ได้ แต่การสร้าง Thrust SSC ก็ยังมีความกดดันด้านเงินทุนที่มีจำกัดมากเหลือเกิน และในที่สุดการสร้างรถ Super Sonic Car ก็สำเร็จ
รถ Thrust SSC ใช้เครื่องยนต์ Turbo Jet Engine แบบ Two Afterburning จำนวน 2 เครื่องยนต์รุ่น Rolls-Royce Spey Mk202s ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องบินไอพ่น Jet รุ่น F-4 Phontom II สุดยอดเครื่องบินรบติดอาวุธ ที่ใช้ในกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งเครื่องยนต์ทั้งสองตัว สามารถสร้างพลังได้ถึง 50,000 ลูกบาตรฟุตต่อวินาที หรือที่ 110,000 แรงม้า วางอยู่บนโครงสร้างทั้งสองด้านของรถที่มีความยาว 16.5 เมตร กว้าง 3.7 เมตร ซึ่งภายในลำตัวรถส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ถึง 4 ถัง ขนาดถังละ 18.2 ลิตร ซึ่งแน่นอนขณะวิ่งเต็มพิกัด เครื่องยนต์ทั้งสองเครื่องอาจจะกินน้ำมันมากถึง 5,500 ลิตร ในระยะทางเพียง 100 km เท่านั้น และสิ่งเดียวที่จะทำให้ Thrust SSC ยึดเกาะถนนไว้ได้ คือการออกแบบรถตามหลักอากาศพลศาสตร์ ส่วนล้อของ Thrust SSCจะไม่ใช้ยาง เพราะไม่สามารถออกแบบยางที่วิ่งในทะเลทราย ที่ความเร็วกว่า 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ จึงใช้ล้ออลูมิเนียมฟอร์จของ Dunlop ที่ออกแบบมาสำหรับ Thrust SSC เพื่อในการสร้างสถิติเท่านั้น ทำให้น้ำหนักตัวของรถมีน้ำหนักรวมกันมากถึง 10.5 ตัน หรือ 10,500 กิโลกรัม
ความคาดหวังเพียงอย่างเดียวของ Thrust SSC คือต้องทำความเร็วได้ไม่ต่ำกว่าความเร็วเสียง ซึ่งปกติแล้วเสียงจะเดินทางภายในอากาศได้ที่ 346 เมตร/วินาที หรือราวประมาณ 761 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 1,225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป้าหมายของ Thrust SSC คือต้องวิ่งได้เร็วกว่า
หลังจาก ที่ทีมงาน Thrust SSC ประกอบด้วยทีมงานผู้สร้าง วิศวกรผู้ควบคุมกว่า 30 ชีวิต ตั้งหน้าปักหลัก ทดสอบรถของเขาอยู่บนทะเลทรายอันร้อนระอุ Black Rock Desert รัฐ Nevada ประเทศ สหรัฐอเมริกา กับอุปสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเทคนิค และการต้องเผชิญสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนของทะเลทราย และความผิดพลาดจะต้องไม่เกิดขึ้นได้เลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว จากการทดสอบหลายต่อหลายครั้ง ความสำเร็จของ Thrust SSC ก็เกิดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม ในปี 1997 เมื่อรถทะยานตัววิ่งฝ่าทำลายกำแพงเสียงได้เป็นที่สำเร็จ ที่ความเร็ว 1.02 มัค หรือด้วยสถิติอย่างเป็นทางการทำไว้ได้ที่ 763 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ1227.983 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งทำให้ Thrust SSC กลายเป็นรถที่วิ่งความเร็วเหนือเสียงคันแรก และวิ่งได้เร็วที่สุดในโลก...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น